วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โครงงานทางประวัติศาสตร์


โครงงานทางประวัติศาสตร์

เรื่อง กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์


จัดทำโดย


1.นางสาวเบญญาภา กิ้มเส้ง เลขที่ 20 ชั้น ม.5/8

2.นางสาวสุธิชา ราชพงศ์ เลขที่ 24 ชั้น ม.5/8

3.นางสาวสุภาภรณ์ มิตรเกษม เลขที่ 25 ชั้น ม.5/8

4.นางสาวณัฐธิดา เพ็ชร์วงศ์ เลขที่ 32 ชั้น ม .5/8
5.นางสาววิภาวรรณ สุดจันทร์ เลขที่ 35 ชั้น ม. 5/8

เสนอ


อาจารย์การุณย์ สุวรรณรักษา

_______________________________________________________________________

กรมหลวงชุมพร


ที่มา

แหลมสนอ่อน ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา

แหลมสนอ่อน อยู่บริเวณแหลมสมิหลา ร่มรื่นไปด้วยทิวสนทะเล บริเวณปลายแหลมเป็นที่ประดิษฐานอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ซึ่งก่อตั้งโดยกลุ่มไทยอาสาป้องกันชาติในทะเล จังหวัดสงขลา ได้แก่ ผู้ประกอบอาชีพอันเกี่ยวเนื่องกับการปกครอง ร่วมกับกองทัพเรือ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2530 เพื่อให้ชาวเรือได้สักการะบูชาก่อนออกไปประกอบอาชีพในทะเล บริเวณแหลมสนอ่อนมีประติมากรรมพญานาคพ่นน้ำ ซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ประติมากรรมพญานาคนี้แบ่งออกเป็นสามส่วนตั้งอยู่สถานที่ต่างกัน ส่วนหัวอยู่ที่แหลมสนอ่อน ส่วนลำตัวหรือสะดือพญานาคอยู่ที่แหลมสมิหลา ส่วนหางอยู่ที่ถนนชลาทัศน์-หาดสมิหลา จากแหลมสนอ่อนสามารถชมทัศนียภาพอันสวยงามของทะเลสาบสงขลา และมองเห็นเกาะหนูได้ใกล้และชัดที่สุด รอบ ๆ บริเวณมีที่นั่งพักผ่อนยามเย็นสำหรับประชาชน


วัตถุประสงค์

1 เพื่อให้ทราบถึงประวัติของอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์

2 เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่บุคคลทั่วไป

3 เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา


1 การกำหนดหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา : ศึกษาเกี่ยวกับอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพร ว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ใครเป็นคนสร้าง และสร้างขึ้นเพื่อสาเหตุใด

2 ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล : อนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ก่อตั้งโดยกลุ่มไทยอาสาป้องกันชาติในทะเลได้แก่ ผู้ประกอบการเกี่ยวกับการปกครองร่วมกับกองทัพเรือสร้างเมื่อปีพ.ศ.2530 เพื่อให้ชาวเรือสักการบูชาก่อนออกไปประกอบอาชีพในทะเล

3 การตรวจสอบและประมวลหลักฐาน :

3.1 การตรวจสอบ

- อายุ 23 ปี

- ผู้สร้างโดยกลุ่มไทยอาสาเพื่อป้องกันชาติในทะเล

- จุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวเรือได้สักการบูชาก่อนออกไปประกอบอาชีพในทะเล

3.2 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน : ข้อมูลน่าเชื่อถือเพราะมีการพิจารณามา 23 ปีแล้ว และที่สำคัญเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญที่ชาวจังหวัดสงขลาเคารพบูชา

4 การตีความหลักฐา: เพื่อให้ชาวเรือได้สักการบูชาก่อนไปประกอบอาชีพทะเล และปัจจุบันประชาชนทุกคนสามารถมากราบไหว้ ขอพรจากอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรได้ทุกเพศ ทุกวัย ไม่จำกัดอาชีพ

วิธีการดำเนินงาน

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย: กำหนดหัวข้อเรื่องซึ่งศึกษาเกี่ยวกับกรมหลวงชุมพร

ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล: รวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจ ถ่ายรูป และจดบันทึกข้อมูลที่ได้ศึกษาจากสถานที่จริงและหาข้อมูลเพิ่มเติมในอินเทอร์เน็ต

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน: ตรวจสอบข้อมูลที่หาได้จากอินเทอร์เน็ตและข้อมูลที่ได้จากการจดบันทึกว่าถูกต้องหรือไม่

ขั้นตอนที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลและตีความข้อมูล: เมื่อ หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกรมหลวงชุมพรแล้วจึงนำมาวิเคราะห์ เพื่อเลือกว่าจะนำเสนอส่วนใดบ้างและเพิ่มเติมเนื้อหาส่วนที่ขาดไป

ขั้นตอนที่ 5 นำเสนอผลงาน

ผลการศึกษาข้อมูล

จากการศึกษาในครั้งนี้ทำให้ทราบถึง

1.ได้นำขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ในการศึกษาการทำโครงงานเรื่องนี้

2.ทราบประวัติความเป็นมาของกรมหลวงชุมพรทั่วไป

3.นำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาได้จริง

4.ทราบถึงเวลาการสร้างกรมหลวงชุมพรว่านานกี่ปีแล้ว

ประโยชน์จากการทำโครงงาน

1 ทราบถึงประวัติความเป็นมาของอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์

2 ฝึกความสามัคคีภายในกลุ่ม

3 รู้จักแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆระหว่างที่ทำงาน

4 ฝึกการมีมิตรกับบุคคลทั่วไป


ข้อมูล


ประวัติ กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าลูกยาเธอใน พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ราชสกุลวงศ์เป็น พระองค์ที่ 28 ทรงพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอาภากร เกียรติวงศ์ประสูติใน พระบรมมหาราชวัง เมื่อเดือนอ้ายปีมะโรง วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พุทธศักราช 2423 เป็นพระลูกเจ้ายาเธอพระองค์ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดา โหมด ธิดาเจ้าพระยา สุรวงษ์ ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงมีพระกนิษฐาและพระอนุชา อีก 2 พระองค์ คือพระองค์เจ้าหญิง อรองค์ อรรคยุพา ซึ่งสิ้นพระชมน์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์และ พระองค์เจ้าสุริยง ประยุรพันธ์ ดำรงพระอิสริยยศเป็น กรมหมื่นไชยา ศรีสุริโยภาส แล้วจึงสิ้นพระชมน์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวง ชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงได้รับการศึกษาขั้นแรกในพระบรมมหาราชวังมีพระยา อิศพันธ์โสภณ (พูน อิศรางกูร) เป็นพระอาจารย์ทรงศึกษาภาษาอังกฤษกับ นายโมแรนท์ ชาวอังกฤษและได้เป็นนักเรียนในโรงเรียน พระตำหนัก สวนกุหลาบ ทรงศึกษาอยู่จนครั้นเมื่อ ปีมะเส็งพุทธศักราช 2436 พระชนม์มายุย่าง 13 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษพร้อมกับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นยศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้าชาย มหาวชิราวุธ และได้เสด็จประทับศึกษาวิชาการเบื้องต้นร่วมกันจนถึงสมัยเมื่อจะทรงศึกษาวิชาการเฉพาะ พระองค์เสด็จในกรมฯจึงได้ทรงแยกไปศึกษาวิชาการทหารเรือนับเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์แรกของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงศึกษาวิชาการทหารเรือในต่างประเทศ.
ระหว่างที่ทรงศึกษาวิชาการทหารเรืออยู่ที่ ประเทศอังกฤษ นั้นได้ทรงแสดงความสามารถในการเดินเรือ คือขณะเมื่อเป็น นักเรียนนายเรืออยู่นั้นประจวบกับเวลาที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรกในพ.ศ. 2440 เสด็จในกรมฯทรงขออนุญาตออกมารับเสด็จ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวโดยได้ทรงเข้าร่วมกระบวนเสด็จของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยทรงเข้าร่วมกระบวนเสด็จที่ เกาะลังกา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้รับราชการตำแหน่งนักเรียนนายเรือ ในเรือพระที่นั่งมหาจักรี ภายในการบังคับบัญชาของกัปตันเรือพระที่นั่งและได้ทรงถือท้ายเรือพระที่นั่งมหาจักรีด้วยพระองค์เอง แสดงความสามารถให้ปรากฎแก่พระเนตรเสด็จในกรมฯได้เสด็จติดตาม พระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถ ไปในเรือพระที่นั่งจนถึงประเทศอังกฤษแล้วจึงโปรดเกล้าฯให้ทรงศึกษาวิชาการทหารเรือต่อไปทรงศึกษาในหลักสูตรชั้นสูงของโรงเรียนนายเรืออังกฤษนับเวลาที่ได้ศึกษาอยู่ในราชนาวีอังกฤษ 6 ปีเศษจึงได้เสด็จกลับประเทศไทยโดยทางเรือ ได้เสด็จลง เรือเมล์เยอรมันที่เมือง เยนัว วันที่10 พฤษภาคม 2443 เสด็จพักแรมที่สิงค์โปร์หนึ่งคืนแล้วจึงเสด็จออกสิงคโปร์โดยเรือเมล์เช่นเดียวกันถึง ปากน้ำเจ้าพระยาจังหวัดสมุทรปราการเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา ออกไปคอยรับเสด็จที่สมุทรปราการแล้วประทับรถไฟสายปากน้ำจากสมุทรปราการเข้ามายังพระนคร...




ภาคผนวก
















วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พัฒนาการชาติไทยสมัยรัชกาลที่ 4-5-6-7 ด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม



1. การจัดระเบียบการเมืองการปกครอง
- สมัยรัชกาลที่ 4ในสมัยนี้ระบบการการปกครองประเทศยังคงเหมือนสมัยรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 3 คือแบ่งการปกครองเป็นเป็นส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
- สมัยรัชกาลที่ 5รัชกาล ที่ 5 ขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนม์อายุได้ 15 พรรษา มีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ในสมัยของพระองค์ได้มีการปรับปรุงระบบการปกครองครั้งยิ่งใหญ่ดังต่อไปนี้
ก. การปฏิรูปการปกครอง
1. ส่วนกลาง ให้ยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและจตุสดมภ์ และให้แบ่งหน่วยการปกครองออกเป็น 12 กรม (ภายหลังเปลี่ยนเป็นกระทรวง) ดังนี้ กรมมหาดไทย กรมกลาโหม กรมการต่างประเทศ กรมนครบาล กรมวัง กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมเกษตรและพาณิยการ (เกษตราธิการ) กรมยุติธรรม กรมยุทธนาะการ กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ และ กรมมุรธาธิการ (ต่อมาภายหลังได้ยุบกรมยุทธนาธิการไปรวมกับกรมกลาโหมและยุบกรมมุรธาธิการไป รวมกับกรมวัง ดังนั้นตอนปลายรัชกาลที่ 5 จึงมีเพียง 10 กรม (หรือกระทรวงในภายหลัง)

2. ส่วนภูมิภาค ให้ยกเลิกการปกครองแบบหัวเมือง โดแบ่งท้องที่ต่างๆ จากเล็กไปหาใหญ่ คือ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เมือง (จังหวัด) และมณฑล (รวม 4-6 เมืองเป็นหนึ่งมณฑล) และแต่งตั้งข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองมณฑล เรียกการปกครองแบบนี้ว่า การปกครองแบบเทศาภิบาล นับเป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางคือราชธานี ผู้มีส่วนช่วยเหลือในการปฏิรูปการปกครองคือ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (บิดาแห่งการปกครองไทย)

สาเหตุที่ได้มี การปฏิรูประบบการปกครองใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะขณะนั้นมหาอำนาจทางตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษ ฝรั่งเศส กำลังขยายลัทธิจักรวรรดินิยมเข้ามาในภูมิภาคเอเชียจึงต้องปรับปรุงประเทศให้ ทันสมัยเพื่อให้อยู่รอดปลอดภัยจากการคุกคามของชาติตะวันตก
ข. ตั้งสภาที่ปรึกษารัชกาลที่ 5 ได้ตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้นมา 2 สภาคือ
1. ปรีวี เคาน์ซิล (องคมนตรีสภา) มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับราชการส่วน พระองค์
2. เคาน์ซิล ออฟสเตท (รัฐมนตรีสภา) มีหน้าที่ออกกฎหมายและถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดินทั่วๆ ไป

ค. การเคลื่อนไหวเตรียมการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตยการเสนอคำ กราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน ร.ศ.103 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีกลุ่มบุคคลประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการซึ่งเป็นคนไทยรุ่นแรกที่ได้ไปศึกษาต่างประเทศและได้เห็นรูปแบบ การปกครองของชาวยุโรปเป็นแบบประชาธิปไตย จึงพร้อมใจกันเสนอคำกราบบังคมทูลดังกล่าว แต่รัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริว่าเมืองไทยขณะนั้นยังไม่พร้อมควรค่อนเป็นค่อยไปโดยเริ่มจากการ ให้การศึกษาแก่ประชาชนก่อน

- สมัยรัชกาลที่ 6
1. เกิดกบฏ ร.ศ.130 ด้วยมีคณะบุคคลคิดจะทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยมี ร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า ประกอบด้วยทหารปก ทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่งจะเรียกร้องให้รัชกาลที่ 6 อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาปนาประชาธิปไตยขึ้น แต่ไม่สำเร็จและไม่ทันดำเนินการก็ถูกจับเสียก่อน
2. รัชกาลที่ 6 ทรงวางรากฐานการปกครองแบบประชาธิปไตย โปรดให้ตั้งดุสิตธานี (หมายถึง นครจำลองที่สมมติขึ้นมา) ทดลองจัดการปกครองแบบประชาธิปไตยเริ่มครั้งแรก พ.ศ.2461 ในเขตพระราชวังดุสิต ในนครสมมติได้แบ่งเป็นเขตอำเภอต่างๆ มีสถานที่ทำการของรัฐบาล มีสถาบันสังคม ศาสนา เศรษฐกิจ มีร้านค้าบ้านเรือนราษฎร ประชาชนที่อยู่ในนครสมมติจะมีการเลือกตั้ง มีพรรคการเมือง มีผู้แทนราษฎร ทำนองเดียวกับประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญ มีหนังสือพิมพ์ คอยติชมวิพากวิจารณ์ สมัยนั้นมีอยู่ 3 ฉบับ เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน 2 ฉบับคือ ดุสิตสมัยและดุสิตรีคอร์เดอร์ และรายสัปดาห์ 1 ฉบับชื่อ ดุสิตสมิต
3. ให้รวมมณฑลหลายๆ มณฑลเป็นภาคและให้เรียกจังหวัดแทนคำว่าเมือง

สมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)ทรงตระหนักถึงความปราถนาของคนรุ่นใหม่ ที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศทางตะวันตกที่จะให้มีการปกครองแบบ ประชาธิปไตย และพระองค์เคยมีพระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนอยู่แล้ว แต่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ทัดทานไว้ว่ายังไม่ถึงเวลา อันควร เพราะราษฎรยังไม่เข้าใจระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยดีพอ อาจเกิดความเสียหายภายหลังได้ ขณะที่ยังรีรออยู่นั้นก็มีคณะบุคคลคณะหนึ่งใช้ชื่อว่า "คณะราษฎร์" ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองเสียก่อน เมื่อเช้าตรู่ของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ขณะที่รัชกาลที่ 7 ประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

การเศรษฐกิจ
- สมัยรัชกาลที่ 4
1. อังกฤษขอให้มีการแก้ไขสนธิสัญญาเบอร์นี่ใหม่ ไทยจะไม่ยอมอังกฤษทำท่าว่าจะบังคับ
2. ไทยทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับอังกฤษ พ.ศ.2398 มีสาระสำคัญทางด้านเศรษฐกิจดังนี้
2.1 พ่อค้าอังกฤษเข้ามาค้าขายในประเทศไทยได้โดยเสรีไม่ต้องผ่านคนกลาง
2.2 ไทยเก็บภาษีขาเข้าได้ร้อยละ 3 สำหรับสินค้าขาออกใช้อัตราที่กำหนดไว้ในพิกัดต่อท้ายสัญญา
2.3 ไทยให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่คนในบังคับอังกฤษสนธิสัญญาเบาริ่งไม่ได้กำหนด เวลาเลิกใช้หรือเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงจะเปลี่ยนได้ก็ต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายเห็นชอบ
3. โครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยเริ่มเปลี่ยนแปลง จากการผูกขาดโดยพระคลังสินค้ามาเป็นแบบการค้าเสรี การค้าขายขยายตัวกว้างขวางยิ่งขึ้น
4. ระบบการผลิตเริ่มมีการปรับปรุง จากการผลิตแบบยังชีพเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก
5. มีการขุดคลองเพื่อการสัญจรและการค้า เช่น คลองผดุงกรุงเกษม คลองหัวลำโพง คลองดำเนินสะดวก คลองภาษีเจริญ คลองมหาสวัสดิ์ คลองเจดีย์บูชา

สมัยรัชกาลที่ 5
1. ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เมื่อ พ.ศ.2416 เป็นสำนักงานกลางเก็บผลประโยชน์และรายได้ต่างของแผ่นดิน
2. พ.ศ.2435 ให้ยกฐานะหอรัษฎากรพิพัฒน์เป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
3. พ.ศ.2439 กระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้จัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรก เพื่อให้การยอมรับว่าเงินของแผ่นดินเป็นไปอย่างรัดกุมและเป็นระเบียบเรียบ ร้อย
4. นำเงินส่วนพระองค์(ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์)ที่เรียกกันว่าพระคลังข้าง ที่ออกจากพระคลังมหาสมบัติ และให้พระคลังข้างที่รับผิดชอบโดยตรง เพื่อไม่ให้เกิดการปะปนกับรายได้แผ่นดิน
5. ยกเลิกเจ้าภาษีนายอากร แต่งตั้งข้าหลวงไปประจำทุกมณฑล
6. ปรับปรุงการเงิน เดิมใช้เงินพดด้วงมาเป็นใช้ธนบัตรแทน ใช้เงินเหรียญและสตางค์แทนเงินปลีก (ใช้ระบบทศนิยมแบบมาตราเมตริก คือ 100 สตางค์ เป็น 1 สลึง..)
7. ตั้งธนาคารเอกชนแห่งแรกชื่อบุคคลัภย์ ต่อมาเรียกชื่อว่าแบงค์สยามกัมมาจล ปัจจุบันคือธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
8. ส่งเสริมอาชีพราษฎร ตั้งกรมชลประทานดูแลและจัดหาน้ำ ตั้งกรมโลหะกิจ ดูแลเหมืองแร่ ตั้งกรมป่าไม้ดูแลป่าไม้ ด้านการสื่อสารตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลข สร้างทางรถไฟ

- สมัยรัชกาลที่ 6
1.ตั้งธนาคารออมสิน
2.ตั้งกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์
3.ตั้ง กรมสรรพากรและกรมตรวจเงินแผ่นดินในตอนปลายรัชกาลฐานะการคลังของประเทศทรุดลง เนื่องจากสาเหตุการเกิดอุทกภัยและเศรษฐกิจกระทบกระเทือนด้วยวิกฤตการหลัง สงครามโลกครั้งที่ 1

- สมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)
1.ประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนักเป็นผลมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1
2.รัชกาลที่ 7 ทรงแก้ปัญหาด้วยการใช้นโยบายประหยัดดังนี้
2.1 ตัดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยทั้งส่วนของราชการและราชสำนัก
2.2 ยุบรวมกระทรวง ทบวง กรม
2.3 ปลดข้าราชการเป็นจำนวนมากเพื่อลดค่าใช้จ่าย

การสังคมและวัฒนธรรม

-สมัยรัชกาลที่ 4
1. ประกาศใช้ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ.121 เป็นฉบับแรก โดยมีสมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด และมีมหาเถรสมาคมเป็นที่ปรึกษา
2. ทรงตระหนักถึงสถานการณ์ของประเทศไทยว่ากำลังถูกคุกคามจากชาติตะวันตก จึงดำริว่าไทยควรปรับปรุงขนบธรรมเนียมให้เป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติได้แก่ ก. โปรดให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้าข. โปรดให้ชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าในงานพระราชพิธีด้วยค. ให้ยกเลิกประเพณีห้ามราษฎรเข้าเฝ้าเวลาเสด็จพระราชดำเนิน ทรงอนุญาตให้ราษฎรรับเสด็จได้โดยสะดวกง. ฟื้นฟูประเพณีตีกลองร้องฎีกา (มีกลองวินิจฉัยเภรีแขวนไว้ใครเดือดร้อนต้องการยื่นฎีกาให้มาตีกลอง)
- สมัยรัชกาลที่ 5
1. ทรงตั้งสถานศึกษาสำหรับสงฆ์คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยหรือมหาธาตุวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาฝ่ายมหานิกาย และมหามกุฏราชวิทยาลัยสำหรับฝ่ายธรรมยุติกนิกาย
2. ให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โปรดให้ทูตานุทูตยืนเฝ้าถวายคำนับ
3. ประเพณีการสืบสันตติวงศ์
4. ทรงยกเลิกตำแหน่งวังหน้าหรือกรมพระราชวังบวรเมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทิวงคต ทรงตั้งตำแหน่ง สยามมกุฏราชกุมารขึ้นแทน มกุฏราชกุมารพระองค์แรกคือสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
5. ปรับปรุงประเพณีไว้ผมทรงมหาดไทย โดยให้ชายไทยในพระราชสำนักเลิกไว้ผมทรงมหาดไทย เป็นตัดผมยาวทรงดอกกระทุ่ม
6. ใช้แบบเสื้อราชประแตนและสวมหมวกอย่างยุโรปแต่ยังนุ่งผ้าม่วงอยู่
7. หลังจากกลับจากประพาสยุโรป สตรีไทยได้หันกลับไปนิยมแบบเสื้อของอังกฤษคือคอตั้งแขนยาว
8. ตอนปลายรัชกาลสตรีไทยนิยมนุ่งโจงกระเบน ชายนุ่งกางเกงแบบตะวันตก

- สมัยรัชกาลที่ 6
1. ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง
2. กำหนดคำหน้านามว่า นาย นาง นางสาว เด็กชาย และเด็กหญิง
3. ออกพระราชบัญญัตินามสกุล
4 . ใช้พุทธศักราชเป็นศักราชทางราชการแทนการใช้รัตนโกสินทร์ศก
5. เปลี่ยนธงชาติจากธงช้างที่มีพื้นธงสีแดงล้วนและมีช้างเผือกอยู่ตรงกลางมาเป็น ธงไตรรงค์
6. เปลี่ยนการนับเวลาทางราชการโดยใช้เวลามาตรฐานตามเวลากรีนิชเป็นหลัก

- สมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)ยังคงเหมือนสมัยรัชกาลที่ 6

พัฒนาการชาติไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม




มูลเหตุการปรับปรุงการปกครอง


นาย วรเดช จันทรศร ได้สรุปถึงปัญหาที่สยามประเทศเผชิญอยู่ในขณะนั้นที่เป็นเงื่อนไขความจำเป็น ที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปอย่างขนานใหญ่รวม 7 ประการ ได้แก่

1. ปัญหาความล้าหลังของระบบการบริหารราชการแผ่นดินที่มีรูปแบบของการจัดที่ทำ ให้เอกภาพของชาติตั้งอยู่บนรากฐานที่ไม่มั่นคงระบบบริหารล้าสมัยขาด ประสิทธิภาพมีการทำงานที่ซ้ำซ้อนและสับสนการควบคุมและการรวมอำนาจเข้าสู่ ศูนย์กลางไม่สามารถทำได้ทำให้ความมั่นคงของประเทศอยู่ในอันตรายและยังเปิด โอกาสให้ค่านิยมของตะวันตกสามารถเข้าแทรกแซงได้โดยง่าย

2. ระบบบริหารการจัดเก็บภาษีอากรและการคลังของสยามประเทศ มิได้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาปรับปรุงบ้านเมืองและเสริมสร้างพระราชอำนาจให้ แก่สถาบันพระมหากษัตริย์เนื่องจากขาดหน่วยงานกลางที่จะควบคุมดูแลการจัดเก็บ รักษาและใช้เงินรายได้แผ่นดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ พระมหากษัตริย์ ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของเจ้าพนักงานขุนนางผู้ดูแลการจัดเก็บภาษีรัฐ และเจ้าภาษีนายอากร ให้อยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์ได้

3. การควบคุมกำลังคนในระบบไพร่ก่อให้เกิดปัญหาการใช้ไพร่เป็นฐานอำนาจทางการ เมือง เพื่อล้มล้างพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เกิดความไม่มั่นคงต่อพระราชบัลลังก์ เกิดการขาดเอกภาพในชาติทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดความล้าหลังไพร่ไม่ สามารถสะสมทางเศรษฐกิจทั้งนี้ เพราะผลเนื่องมาจากการเกณฑ์แรงงาน นอกจากนี้การฉ้อราษฎร์บังหลวงของมูลนาย ยังเป็นการทำลายผลประโยชน์ของพระมหากษัตริย์ และเกิดความเสียหายต่อสยามโดยรวม

4. ปัญหาการมีทาสก่อให้เกิดการกดขี่และความไม่เป็นธรรมในสังคมเป็นเครื่องชี้ ความป่าเถื่อนล้าหลังของบ้านเมืองที่มีอยู่ซึ่งเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของ ประเทศต่างชาติอาจใช้เป็นข้ออ้างในการเข้ามาแทรกแซงของลัทธิล่าอาณานิคมที่ จะสร้างความศิวิไลซ์และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในชาติด้อยพัฒนาในแง่ เศรษฐกิจระบบทาสของสยามเป็นระบบใช้แรงงานที่เป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าทาง เศรษฐกิจและเป็นอุปสรรคต่อการเป็นการพัฒนาคุณภาพกำลังคนในชาติ

5. ระบบทหารของสยามประเทศเป็นระบบที่ไม่สามารถป้องกันผลประโยชน์ และเกียรติของชาติไว้ได้เป็นระบบที่ยึดถือแรงงานของไพร่เป็นหลักในการ ป้องกันพระราชอาณาจักรทำให้การควบคุมประชาชนในประเทศถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ทำให้สถานภาพของพระมหากษัตริย์และเอกภาพของชาติตั้งอยู่บนฐานที่ไม่มั่นคง ทำให้กองทัพขาดเอกภาพขาดระเบียบวินัยอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมรบไม่อำนวยให้ เกิดการฝึกหัดที่ดีและการเรียกระดมเข้าประจำกองทัพล่าช้าทำให้ไม่ทราบจำนวน ไพร่พลที่แน่นอน

6. ปัญหาข้อบกพร่องของระบบกฎหมาย และการศาลที่ล้าสมัยแตกต่างจากอารยะประเทศไม่เป็นหลักประกันความยุติธรรมให้ กับคนในชาติ และชาวต่างชาติบทลงโทษรุนแรงทารุณการพิจารณา ล่าช้าคดีคั่งค้างไม่สามารถรองรับความเจริญทางการค้าพาณิชย์และสภาพสังคม ได้มีหน่วยงานในการพิจารณาคดีมากเกินไป เกิดความล่าช้าสังกัดของศาลแยกไปอยู่หลายกรมเกิดความล่าช้าและไม่ยุติธรรม ระบบการรับสินบนฝังรากลึกมาแต่ในอดีตปัญหาข้อบกพร่องต่างๆ ทั้งหมดนี้เป็นเหตุให้สยามถูกกดดันทำให้เกิดความยากลำบากในการปกครองและเป็น อุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ

7. ปัญหาด้านการศึกษาสยามประเทศก่อนปฏิรูปยังไม่มีระบบการศึกษาสมัยใหม่ไม่มี หน่วยงานที่จะรับผิดชอบในการจัดการศึกษาโดยตรงการศึกษาจำกัดอยู่เฉพาะ ราชวงศ์ขุนนางชั้นสูงเกิดความไม่ยุติธรรม ทำให้โอกาสการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ลางเลือน ประเทศขาดคนที่มีคุณภาพเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศขาดพลังที่จะช่วยรักษา บ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัยอีกทั้งยังทำให้ต่างชาติดูถูกสยามประเทศว่ามี ความป่าเถื่อน ล้าหลัง



การปรับปรุงการบริหารราชการส่วนกลาง


การ ปรับปรุงการบริหารราชการในส่วนกลางได้จัดแบ่งหน่วยงานออกเป็นกระทรวงต่าง ๆ ตามลักษณะเฉพาะ เพื่อให้การบริหารงานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยปรับปรุงการจัดระเบียบ บริหารราชการส่วนกลางซึ่งมีมาแต่เดิมนับตั้งแต่การปฏิรูปการปกครองในสมัย กรุงศรีอยุธยา คือ มหาดไทย กลาโหม เมือง วัง คลัง นาอันได้ใช้เป็นระเบียบปกครองประเทศไทยตลอดมาจนถึงรัชกาลที่ 5 เหตุแห่งการปฏิรูปการปกครอง และระเบียบราชการส่วนกลางในรัชการนี้ ก็เนื่องจากองค์การแห่งการบริการส่วนกลาง ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ไม่เพียงพอที่จะปฏิบัติราชการให้ได้ผลดีและความเจริญของประเทศและจำนวน พลเมืองเพิ่มขึ้นข้าราชการเพิ่มขึ้น แต่องค์การแห่งราชการบริหารส่วนกลางยังคงมีอยู่เช่นเดิมไม่เพียงพอต่อความ ต้องการด้วยเหตุดังกล่าว จึงได้ทรงตั้งกระทรวงเพิ่มขึ้นโดยได้ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศตั้งกระทรวง แบบใหม่ และผู้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงต่าง ๆ ขึ้นโดยได้จัดสรรให้อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละกระทรวงให้เป็นสัด ส่วน ดังนี้ คือ

1. กระทรวงมหาดไทย บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาวประเทศราช (ในช่วงแรก) แต่ต่อมาได้มีการโอนการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งหมดที่มีให้อยู่ในความดูแล ของกระทรวงมหาดไทย

2. กระทรวงกลาโหม บังคับบัญชาหัวเมืองปักษ์ใต้ ฝ่ายตะวันตกตะวันออก และเมืองมลายูประเทศราช เมื่อมีการโอนการบังคับบัญชาหัวเมืองไปให้กระทรวงมหาดไทยแล้วกระทรวงกลาโหม จึงบังคับบัญชาฝ่ายทหารเพียงอย่างเดียวทั่วพระราชอาณาเขต
3. กระทรวงการต่างประเทศ (กรมท่า) มีหน้าที่ด้านการต่างประเทศ

4. กระทรวงวัง ว่าการในพระราชวัง

5. กระทรวงเมือง (นครบาล) การโปลิศและการบัญชีคน คือ กรมพระสุรัสวดีและรักษาคนโทษ

6. กระทรวงเกษตราธิการ ว่าการเพาะปลูกและการค้า ป่าไม้ เหมืองแร่

7. กระทรวงพระคลัง ดูแลเรื่องเงิน รายได้ รายจ่ายของแผ่นดิน

8. กระทรวงยุติธรรม จัดการเรื่องศาลซึ่งเคยกระจายอยู่ตามกรมต่าง ๆ นำมาไว้ที่แห่งเดียวกันทั้งแพ่ง อาญา นครบาล อุทธรณ์ทั้งแผ่นดิน

9. กระทรวงยุทธนาธิการ ตรวจตราจัดการในกรมทหารบก ทหารเรือ

10. กระทรวงธรรมการ จัดการเกี่ยวกับการศึกษา การรักษาพยาบาล และอุปถัมภ์คณะสงฆ์

11. กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่ก่อสร้างทำถนน ขุดคลอง การช่าง การไปรษณีย์โทรเลขการรถไฟ

12. กระทรวงมุรธาธิการ มีหน้าที่รักษาพระราชลัญจกร รักษาพระราชกำหนดกฎหมายและหนังสือราชการทั้งปวง

เมื่อ ได้ประกาศปรับปรุงกระทรวงใหม่เสร็จเรียบร้อยจึงได้ประกาศตั้งเสนาบดีและให้ เลิกอัครเสนาบดีทั้ง 2 ตำแหน่ง คือ สมุหนายกและสมุหกลาโหม กับตำแหน่งจตุสดมภ์ให้เสนาบดีทุกตำแหน่งเสมอกันและรวมกันเป็นที่ประชุม เสนาบดีสภา หรือเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลา ต่อจากนั้นได้ยุบรวมกระทรวง และปรับปรุงใหม่เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวงต่างๆ ยังคงมีเหลืออยู่ 10 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงนครบาล กระทรวงการ-ต่างประเทศ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงวัง กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงโยธาธิการ และกระทรวงธรรมการ



การปรับปรุงการบริหารราชการส่วนภูมิภาค


ด้วย เหตุที่มีการรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองซึ่งเคยแยกกันอยู่ใน 3 กรม คือ มหาดไทยกลาโหมและกรมท่า ให้มารวมกันอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียว การปฏิรูปหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาคจึงมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทน (field) หรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทย หรือรัฐบาลกลางโดยส่วนรวมทั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการปกครองแบบ เมืองหลวง เมืองชั้นใน เมืองชั้นนอก เมืองพระยามหานคร และเมืองประเทศราชเดิม เพื่อให้ลักษณะการปกครองเปลี่ยนแปลงแบบราชอาณาจักรโดยการจัดระเบียบการ ปกครองให้มีลักษณะลดหลั่นตามระดับสายการบังคับบัญชาหน่วยเหนือลงไปจนถึง หน่วยงานชั้นรอง ตามลำดับดังนี้

1.การ จัดรูปการปกครองมณฑลเทศาภิบาล โดยการรวมหัวเมืองต่าง ๆ เป็นมณฑลตามสภาพภูมิประเทศและความสะดวกแก่การปกครอง มีสมุหเทศาภิบาลซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเลือกสรรจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความสามรถสูงและเป็นที่วางพระราชหฤทัยแต่ง ตั้งให้ไปบริหารราชการต่างพระเนตรพระกรรณ

2.การ จัดรูปการปกครองเมือง มีการปกครองใช้ข้อบังคับลักษณะการปกครองท้องที่ซึ่งมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการ จัดหน่วยบริหารที่ชื่อว่า "เมือง" ใหม่โดยให้รวมท้องที่หลายอำเภอเป็นหัวเมืองหนึ่งและกำหนดให้มีพนักงานปกครอง เมืองแต่ละเมือง ประกอบด้วยผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาเมือง และมีคณะกรรมการเมือง 2 คณะ คือ กรมการในทำเนียบและกรมการนอกทำเนียบเป็นผู้ช่วยเหลือและให้คำแนะนำพระมหา กษัตริย์ทรงเลือกสรร และโยกย้ายผู้ว่าราชการเมือง

3. การจัดการปกครองอำเภอ อำเภอเป็นหน่วยบริหารราชการระดับถัดจากเมืองเป็นหน่วยปฏิบัติราชการหน่วยสุด ท้ายของรัฐที่จะเป็นผู้บริการราชการในท้องที่ และให้บริการแก่ประชาชนตามนโยบายของรัฐบาลกลาง เป็นหน่วยการปกครองที่จัดตั้งขึ้นโดยการรวมท้องที่หลายตำบลเข้าด้วยกัน มีกรมการอำเภอซึ่งประกอบด้วยนายอำเภอปลัดอำเภอ และสมุห์บัญชีอำเภอร่วมกันรับผิดชอบในราชการของอำเภอ โดยนายอำเภอเป็นหัวหน้า ทั้งนี้ การแต่งตั้งโยกย้ายนายอำเภอ เป็นอำนาจของข้าหลวงเทศาภิบาลสำหรับตำแหน่งลำดับรองๆ ลงไปซึ่งได้แก่ ปลัดอำเภอ สมุห์บัญชีอำเภอ และเสมียน พนักงาน ผู้ว่าราชการเมืองมีอำนาจแต่งตั้งโยกย้ายหากท้องที่อำเภอใดกว้างขวางยากแก่ การที่กรมการอำเภอจะไปตรวจตราให้ทั่วถึงได้และท้องที่นั้นยังมีผู้คนไม่มาก พอที่จะยกฐานะเป็นอำเภอหรือกรณีที่ท้องที่ของอำเภอมีชุมชนที่อยู่ห่างไกลที่ ว่าการอำเภอก็ให้แบ่งท้องที่ออกเป็น กิ่งอำเภอเพื่อให้มีพนักงานปกครองดูแลได้แต่กิ่งอำเภอยังคงเป็นส่วนหนึ่งของ อำเภอและอยู่ในกำกับดูแลของกรรมการอำเภอ

4. การจัดรูปการปกครองตำบลหมู่บ้าน อำเภอแต่ละอำเภอมีการแบ่งซอยพื้นที่ออกเป็นหลายตำบลและตำบลก็ยังซอยพื้นที่ ออกเป็นหมู่บ้าน ซึ่งเป็นหน่วยการปกครองสุดท้ายที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุดการปกครองระดับนี้ มุ่งหมายที่จะให้ราษฎรในพื้นที่ เลือกสรรบุคคลขึ้นทำหน้าที่เป็นธุระในการรักษาความสงบเรียบร้อยโดยเป็นทั้ง ตัวแทนประชาชนในพื้นที่ปฏิบัติงาน เป็นสื่อเชื่อมโยงระหว่างรัฐบาลกับประชาชน คือเป็นผู้ประสานงานช่วยเหลืออำเภอ และเป็นตัวแทนของรัฐสอดส่องดูแลทุกข์สุขของราษฎร์ ตลอดจนช่วยเก็บภาษีอากรบางอย่างให้รัฐ

การปรับปรุงการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงริเริ่มแนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองของประชาชนในท้อง ถิ่นจากต่างประเทศมาดำเนินการโดยริเริ่มทดลองให้มีการจัดการสุขาภิบาล กรุงเทพฯและการสุขาภิบาลหัวเมือง รายละเอียดดังนี้

1. การจัดการสุขาภิบาลกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเริ่มให้จัดการบำรุงท้องถิ่น แบบสุขาภิบาล ขึ้นในกรุงเทพ อันเป็นอิทธิพลสืบเนื่องมาจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีโอกาสไปดู กิจการต่าง ๆในยุโรป และเนื่องจากเจ้าพระยาอภัยราชา(โรลังยัคมินส์) ติเตียนว่ากรุงเทพฯสกปรกที่รักษาราชการทั่วไปของประเทศในขณะนั้นได้กราบทูล กับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าชาวต่างประเทศ มักติเตียนว่ากรุงเทพฯ สกปรกไม่มีถนนหนทางสมควรแก่ฐานะเป็นเมืองหลวงพระองค์ จึงโปรดเกล้าให้จัดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ขึ้นโดยมีพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116 ออกใช้บังคับการจัดการดำเนินงานเป็นหน้าที่ของกรมสุขาภิบาล การบริหารกิจการในท้องที่ของสุขาภิบาลพระราชกำหนดได้กำหนดให้มีการประชุม ปรึกษากันเป็นคราว ๆ ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้รับหน้าที่ในด้านการอนามัยและการศึกษาขั้นต้นของ ราษฎร ได้ แบ่งสุขาภิบาลออกเป็น 2 ชนิด คือ สุขาภิบาลเมือง และสุขาภิบาลตำบล โดยสุขาภิบาลแต่ละชนิดมีหน้าที่

1.รักษาความสะอาดในท้องที่

2.การป้องกันและรักษาความเจ็บไข้ในท้องที่

3. การบำรุงและรักษาทางไปมาในท้องที่

4. การศึกษาขึ้นต้นของราษฎร


พระ ราชบัญญัติทั้งสองฉบับได้ใช้อยู่จนกระทั่งหมดสมัยที่สมเด็จกรมพระยาดำรง ราชานุภาพทรงดำรงตำแหน่งของเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ไม่มีนโยบายส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองของประเทศและสุขาภิบาล เริ่มประสบปัญหาต่างๆ จึงทำให้การทำงานของสุขาภิบาลหยุดชะงักและเฉื่อยลงตามลำดับ จวบจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพ.ศ.2475 คณะราษฎรมุ่งหวังที่จะสถาปนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นในประเทศไทย จึงตราพระราชบัญญัติการจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 เพื่อส่งเสริมให้มีการปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลอย่างกว้างขวาง

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน



ใน วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 กลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ต่อมาเรียกตนเองว่า "คณะราษฎร" ได้ยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตย

คณะ ราษฎรเกิดจากการรวมกลุ่มของข้าราชการและนักเรียนไทย 7 คนในฝรั่งเศสและยุโรปที่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยาม ภายใต้การนำของนายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) เมื่อนักเรียนเหล่านี้กลับมาเมืองไทยก็ได้ขยายกลุ่มสมาชิกภายในประเทศและขอ ให้พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นแกนนำฝ่ายพลเรือน หลวงพิบูลสงครามเป็นแกนนำฝ่ายทหารบก

1. สาเหตุของการปฏิวัติ เกิดจากปัจจัยทางการเมืองและปัจจัยทางเศรษฐกิจ ในด้านปัจจัยทางการเมือง การปฏิรูปบ้านเมืองและปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้เกิดชนชั้นกลางที่เรียนรู้รูปแบบการเมืองการปกครองของชาติตะวันตก ทำให้เห็นว่าการปกครองโดยคน ๆ เดียวหรือสถาบันเดียวไม่อาจแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ทั้งหมด นอกจากนี้ชนชั้นกลางจำนวนมากไม่พอใจที่บรรดาเชื้อพระวงศ์ผูกขาดอำนาจการ ปกครองและการบริหารราชการ กลุ่มคนรุ่นใหม่ต้องการให้มีการปกครองระบอบรัฐสภาและมีรัฐธรรมนูญ บางกลุ่มต้องการให้มีการปกครองระบอบสาธารณรัฐ
ใน ด้านปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและการดุลข้าราชการออกจำนวนมากเพื่อตัดลดงบประมาณ ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการและประชาชนที่เดือดร้อนจากปัญหา เศรษฐกิจ ทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งที่คณะราษฎรใช้โจมตีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์
2. เหตุการณ์วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ในวันที่ 24 มิถุนายน คณะผู้ก่อการเข้ายึดอำนาจการปกครองที่กรุงเทพมหานคร และจับกุมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้า ฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพอภิรัฐมนตรี เป็นตัวประกัน
ส่วน บริเวณลานหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคุณะผู้ก่อการได้อ่านประกาศยึดอำนาจการปกครอง ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระ บรมราชินี ประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ใน วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยอมารับการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะ ราษฏร เพราะทรงเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของราษฎรและไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ รวมทั้งพระองค์ก็ทรงมีพระราชดำริที่เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตย อยู่แล้ว
ใน วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้เข้าเฝ้า ฯ และนำร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช 2475 ขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย เพื่อให้ลงพระปรมาภิไธย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเติมคำว่า "ชั่วคราว" ต่อท้ายรัฐธรรมนูญ นับเป็นการเริ่มต้นระบอบรัฐธรรมนูญของไทย ต่อมาในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ได้มีพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต







บทบาทพระมหากษัตริย์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ต่อการพัฒนาชาติไทย

ด้านสังคม

(1) การควบคุมกำลังคน

เมื่อ แรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีใหม่ ๆ สังคมไทยต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนกำลังคนอย่างมาก เพราะต้องใช้กำลังคนทั้งการก่อสร้างพระนครใหม่ การป้องกันบ้านเมือง และต้องการไว้รบเพื่อเตรียมทำสงคราม ฉะนั้นระบบไพร่จึงมีบทบาทสำคัญมาก

ระบบ ไพร่ หรือ การควบคุมกำลังคนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงอาศัยระบบไพร่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นรากฐาน จากสภาพทางเศรษฐกิจที่การค้ากับต่างประเทศกำลังเจริญรุ่งเรืองกว่าแต่ก่อน ตลอดจนการเข้ามาของมหาอำนาจตะวันตก มีผลทำให้ระบบไพร่ในสมัยนี้ลดการควบคุมที่ค่อนข้างเข้มงวดลง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไพร่หลวงจะต้องถูกเกณฑ์แรงงานประจำ เข้าเดือน ออกเดือน รวมแล้วปีหนึ่งต้องถูกเกณฑ์แรงงาน 6 เดือน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 การเข้าเวรทำงานของไพร่หลวงได้รับการผ่อนปรนให้ทำงานน้อยลง โดยทำงานให้รัฐเพียงปีละ 4 เดือน สมัยรัชกาลที่ 2 ได้ลดลงอีกเหลือเพียงปีละ 3 เดือนเท่านั้น และในจำนวนเวลา 3 เดือนที่ต้องเข้าเวรนี้ ถ้าผู้ใดจะส่งเงินมาเสียเป็นค่าราชการแทนการเข้าเวรก็ได้ เดือนละ 6 บาท ปีละ 18 บาท สำหรับไพร่สมนั้น ให้เข้ามารรับราชการด้วยเช่นกันปีละ 1 เดือน หรือจ่ายเป็นเงิน ปีละ 6 บาท

นอกจากนั้น ยังยอมให้ไพร่ที่กระทำผิดแล้วมามอบตัวจะไม่ถูกลงโทษ ให้ไพร่สามารถเลือกขึ้นสังกัดมูลนายได้ตามสมัครใจ ในสมัยรัชกาลที่ 3 ยังโปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชทานตราภูมิคุ้มห้ามแก่ไพร่หลวงทุกคน ทำให้ตั้งแต่นั้นมาไพร่หลวงจะได้รับการยกเว้นอากรค่าน้ำ อากรตลาดและอากรสมพัตสร ภายในวงเงิน 4 บาท (1 ตำลึง) และจ่ายเฉพาะเงินภาษีอากรส่วนที่เกินกว่า 4 บาทขึ้นไป การผ่อนปรนกับไพร่นั้น ยังคงต่อเนื่องมาในสมัยหลัง คือ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงยอมให้ไพร่ถวายฎีกาโดยตรงได้ ในกรณีที่ถูกข่มเหงจากมูลนาย โดยไม่จำเป็นต้องร้องเรียนผ่านตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม

(2) โครงสร้างชนชั้นของสังคม

ใน สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โครงสร้างชนชั้นของสังคมยังคงคล้ายกับสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ มี 2 ชนชั้น ได้แก่ ชนชั้นปกครอง และขุนนาง โดยมีรายละเอียดดังนี้

พระมหากษัตริย์

พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจสูงสุด พระบรมราชโองการของพระองค์เป็นกฎหมาย พระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะดุจสมมติเทพ

พระบรมวงศานุวงศ์

พระบรมวงศานุวงศ์ เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายของพระมหากษัตริย์ ตำแหน่งของพระบรมวงศานุวงศ์ จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

- สกุลยศ หมายถึง ตำแหน่งที่สืบเชื้อสายมาโดยกำเนิด ซึ่งสกุลยศในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มี 3 ตำแหน่ง ได้แก่ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า

- อิสสริยยศ หมายถึง ตำแหน่งที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานหรือเลื่อนยศให้ ซึ่งอิสสริยยศที่มีตำแหน่งสูงที่สุด คือ พระมหาอุปราช

ขุนนาง

ขุน นาง เป็นกลุ่มบุคคลที่ช่วยเหลือกิจการบริหารราชการแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ขุนนางได้รับการยกเว้นการเกณฑ์แรงงาน และขุนนางในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีอิทธิพลและบทบาททางการเมืองสูง

ไพร่

ไพร่ หมายถึง ราษฎรทั่วไปทั้งชายและหญิง ที่มิได้เป็นเจ้านาย ขุนนาง และมิได้เป็นทาส นับเป็นชนชั้นที่มีจำนวนมากที่สุดของสังคม ไพร่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่สำคัญ คือ ไพร่สม ไพร่หลวง และไพร่ส่วย เหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา

ไพร่ หลวงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้รับการผ่อนผันลดหย่อนเวลาเกณฑ์แรงงาน ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจที่ต้องการให้ไพร่เหล่านี้ได้ผลิตสินค้าเพื่อขายสู่ ตลาดมากขึ้น ในสมัยนี้เนื่อง่จากการค้าเจริญรุ่งเรือง ไพร่ส่วยมีความสำคัญมาก เพราะรัฐบาลเร่งเอาส่วยสิ่งของต่าง ๆ เพื่อนำไปค้าขาย นับเป็นภาระหนักอย่างหนึ่งของไพร่ จึงมีคนจำนวนมากหนีระบบไพร่ โดยการไปเป็นไพร่สมของเจ้านายหรือขุนนางผู้มีอำนาจหรือขายตัวเป็นทาส จนในสมัยรัชกาลที่ 3 ประกาศห้ามขุนนางหรือเจ้านายซ่องสุมกำลังคน

ทาส

ทาส เป็นชนชั้นต่ำสุดของสังคม ทำงานให้แก่นายเงินของตนเท่านั้น ไม่ต้องเข้าเวรรับราชการเช่นไพร่ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้ระบุประเภทของทาสไว้ 7 ประเภท คือ

1. ทาสสินไถ่ คือ ทาสที่ไถ่หรือซื้อมาด้วยทรัพย์


2. ทาสในเรือนเบี้ย คือ เด็กที่เกิดมาในขณะที่พ่อแม่เป็นทาส

3. ทาสที่ได้มาจากฝ่ายบิดามารดา คือ ทาสที่ได้รับเป็นมรดกสืบทอด

4. ทาสท่านให้ คือ ทาสที่มีผู้ยกให้

5. ทาสที่ได้เนื่องมาจากนายเงินไปช่วยให้ผู้นั้นพ้นโทษปรับ

6. ทาสที่มูลนายเลี้ยงไว้ในยามข้าวยากหมากแพง

7. ทาสเชลย คือ ทาสที่ได้มาจากสงคราม


พระสงฆ์

พระสงฆ์ เป็นกลุ่มสังคมที่มาจากทุกชนชั้นในสังคม มีหน้าที่อบรมสั่งสอนประชาชน เป็นครูผู้สอนหนังสือและวิทยาการต่าง ๆ แก่เด็กผู้ชาย

ด้านศาสนา

(1) การสังคายนาพระไตรปิฎก

พระ ไตรปิฎก คือ คัมภีร์บรรจุพระธรรมคำสั่งสอนทั้งปวงในพระพุทธศาสนา รัชกาลที่ 1 ทรงให้มีการชำระสะสางพระไตรปิฎกขึ้นที่วัดมหาธาตุ และจารึกลงในใบลาน คัดลอกเป็นพระไตรปิฎกฉบับหลวงขึ้น ปิดทองทั้งปกหน้าและด้านข้าง เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับทองใหญ่ หรือ ฉบับทองทึบ อัญเชิญประดิษฐานไว้ในตู้ประดับมุก หอพระมนเทียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

(2) การกวดขันพระธรรมวินัย

รัชกาล ที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ออกกฎหมายสำหรับสงฆ์ขึ้นหลายฉบับ ถึงสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สำรวจความประพฤติของพระสงฆ์ เมื่อพบว่าพระสงฆ์รูปใดไม่ตั้งอยู่ในพระธรรมวินัย ก็ให้จับสึกเสีย

(3) การสถาปนาธรรมยุติกนิกาย

ใน สมัยรัชกาลที่ 3 สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฏ ได้เสด็จออกผนวช ทรงพบว่าคำสอน และข้อปฏิบัติต่าง ๆ ทางศาสนาพุทธวิบัติไปเป็นอันมาก พระภิกษุก็มิได้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน จึงมีพระประสงค์จะสังคายนาคณะสงฆ์เสียใหม่ ทรงตั้งคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เมื่อ พ.ศ. 2372 แต่มิได้เลิกคณะสงฆ์เดิม และเรียกคณะสงฆ์เดิมว่า ฝ่ายมหานิกาย

(4) การส่งสมณทูตไปลังกา

ใน สมัยรัชกาลที่ 2 ส่งสมณทูตไปลังกา ทั้งหมด 9 รูป โดยมีพระอาจารย์ดี และพระอาจารย์เทพ เป็นหัวหน้า และได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์มาจากลังกา 6 ต้น ในสมัยรัชกาลที่ 3 พระสงฆ์เดินทางไปลังกาเพื่อขอยืมพระไตรปิฎกมาตรวจสอบกับของไทย 2 ครั้ง คือ ใน พ.ศ. 2385 และ พ.ศ. 2387

(5) การสร้างและบูรณะวัดวาอาราม

- วัดพระศรีรัตนศาสดาราม รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวังชั้นนอก เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับวัดพระศรีสรรเพชญสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นวัดที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต วัดนี้จึงได้ชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า วัดพระแก้ว

- วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ใช้เวลา 12 ปี ถือกันว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 และได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 3 ใช้เวลา 16 ปี โปรดเกล้าฯ ให้มีการประชุมนักปราชญ์ ราชบัณฑิต และช่างทุกสาขาให้ช่วยกันชำระตำรา และจารึกไว้บนแผ่นศิลาตามเสา และผนังรายรอบบริเวณวัด เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า วัดนี้จึงจัดว่าเป็นวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทย

- วัดสุทัศนเทพวราราม รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานของพระศรีศากยมุนี หรือ พระโต

- วัดอรุณราชวราราม เดิมเรียกวัดแจ้ง รัชกาลที่ 2 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์และได้สร้างพระอุโบสถใหม่ วัดนี้มีพระปรางค์องค์ใหญ่ที่งดงาม และได้ชื่อว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2




ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม


ประเพณี

1. พระราชพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเสวยราชย์ของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งการสมโภชพระราชวังที่เพิ่งสร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 1

2. พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นพิธีสาบานตนของพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 1 พระองค์โปรดฯ ให้เคารพพระรัตนตรัยก่อนพระเชษฐบิดร

3. พระราชพิธีโสกันต์ คือ ประเพณีตัดผมจุกของพระราชโอรส พระราชธิดา หรือ เชื้อพระวงศ์ชั้นสูง

4. พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน ในสมัยรัชกาลที่ 1 โปรดที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินวัดที่พระองค์ทรงแต่งตั้งพระ ราชาคณะไปปกครอง

5. พระราชพิธีจรดพระนังคัลและพระราชพิธีพืชมงคล ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่เกี่ยวกับการเพาะปลูก ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวไทย

6. พระราชพิธีวิสาขบูชา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้รื้อฟื้นพระราชพิธีนี้ขึ้นมาเป็นพิธีหลวงอีกพิธีหนึ่ง

7. พระราชพิธีอาพาธพินาศ ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่จะต่อสู้กับโรคอหิวาตกโรค

วรรณกรรม

ราชสำนักจัดว่าเป็นศูนย์กลางของวรรณกรรมและเป็นที่ชุมนุมของกวี

สมัยรัชกาลที่ 1 วรรณคดีที่สำคัญ ได้แก่ รามเกียรติ์ ราชาธิราช และสามก๊ก

สมัย รัชกาลที่ 2 ทรงเป็นกวี พระราชนิพนธ์ที่ได้รับการยกย่องมากที่สุด คือ อิเหนา กวีเอกคนสำคัญในสมัยนี้ คือ สุนทรภู่ ผลงานที่เด่นชัดที่สุด คือ เรื่องพระอภัยมณี

สถาปัตยกรรม

แบบ อย่างของสถาปัตยกรรม ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยเฉพาะสมัยรัชกาลที่ 1 และ รัชกาลที่ 2 ได้เจริญรอยตามแบบอย่างสถาปัตยกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาเกือบทั้งหมด ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 นิยมศิลปะการก่อสร้างแบบจีน โดยเฉพาะรูปแบบการสร้างวัด

จิตรกรรม

งาน จิตรกรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนใหญ่เป็นจิตรกรรมฝาผนัง และเลียนแบบอย่างมาจากกรุงศรีอยุธยา จิตรกรรมฝาผนังรุ่งเรืองมากที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 3 และมีลักษณะศิลปะแบบจีนเข้ามาปะปนอยู่ด้วย จิตรกรรมที่สำคัญและมีชื่อเสียง ได้แก่ ภาพเขียนในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล ภาพฝาผนังที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นต้น

การศึกษา

ใน สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ศูนย์กลางของการศึกษาที่สำคัญมีอยู่ 2 แห่ง คือ วัง และ วัด การเรียนหนังสือภาไทย เดิมยังไม่มีแบบเรียน เพิ่งมีเมื่อหมอบรัดเลย์ พิมพ์หนังสือประถม ก.กา ออกจำหน่าย ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังไม่มีโรงเรียนเป็นหลักแหล่ง ต้องไปศึกษาตามสำนักต่าง ๆ การเรียนที่สำคัญอีกแบบหนึ่ง คือ การศึกษาวิชาชีพตามบรรพบุรุษ หรือตามอาชีพที่มีในท้องถิ่นของตน เช่น ช่างทอง ช่างถม เป็นต้น