วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วิธีการทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการสืบค้นเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์ เริ่มต้นที่ความอยากรู้อยากเห็นของผู้ต้องการศึกษาและต้องการสอบสวนค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง จากร่องรอยที่คนในอดีตได้ทำไว้และตกทอดเหลือมาถึงปัจจุบัน โดยไม่หลงเชื่อคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง หรืออ่านหนังสือเพียงเล่มใดเล่มหนึ่งแล้วเชื่อว่าเป็นจริง สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกของการสืบค้นอดีต เมื่อมีประเด็นที่ต้องการสืบค้นแล้ว คือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวางและละเอียดลออ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น สอบถามผู้รู้ ศึกษาเอกสาร เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง ตรวจสอบข้อมูลจากหลักฐานทุกชิ้นด้วยจิตสำนึกว่า หลักฐานไม่ได้บอกความจริงทั้งหมด หรือบอกความจริงเสมอไป แล้วรวบรวมข้อเท็จจริงที่ได้ จากนั้นนำเสนอผลที่ศึกษาได้พร้อมอ้างอิงหลักฐานให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้อื่นตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าต่อไปได้

ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย

1. การกำหนดหัวข้อเรื่องที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน (เรื่องอะไร ช่วงเวลาใด ที่ไหน)

2. รวบรวมข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้ครบถ้วน ครอบคลุม

3. ตรวจสอบความจริงจากหลักฐาน ที่เรียกว่า การวิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์

4. วิเคราะห์ข้อมูลและตีความเพื่อค้นหาข้อเท็จจริง

5. นำเสนอผลงานความรู้ที่ค้นพบ โดยปราศจากอคติและความลำเอียง

วิธีการทางประวัติศาสตร์กับวิธีการทางวิทยาศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์ กับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีบางส่วนที่คล้ายคลึงกัน และมีบทส่วนแตกต่างกันดังนี้

1. วิธีการทางประวัติศาสตร์มีการกำหนดประเด็นปัญหา เพื่อสืบค้นหาคำตอบ เช่นเดียวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีการสร้างสมมติฐานขึ้นแล้วทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานนั้น

2. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ใช้วิธีการสร้างสถานการณ์ใหม่ หรือ ทดลองเพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งขึ้น แต่นักประวัติศาสตร์ไม่สามารถสร้างสถานการณ์ขึ้นใหม่ให้เหมือนกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในอดีตได้ เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตจะเกิดขึ้นครั้งเดียว มีลักษณะเฉพาะ และไม่สามารถสร้างซ้ำได้อีก แต่นักประวัติศาสตร์จะรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานอย่างหลากหลาย ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของหลักฐาน จนกระทั่งได้ข้อมูลที่จะสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถอธิบายและสรุปเป็นหลักการได้ ดังนั้นแม้นักประวัติศาสตร์จะมิได้เห็นเหตุการณ์นั้นโดยตรง แต่พยายามหาข้อมูลให้มาก เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงให้ถูกต้องตามความเป็นจริงที่น่าเป็นไปได้ แต่นักวิทยาศาสตร์จะทดสอบหรือทดลองให้ได้ผลสรุปด้วยตนเอง

3. การนำเสนอผลงานของนักวิทยาศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ก็อาศัยหลักการความเป็นไปได้มาคาดคะเน และสรุปผลเช่นกัน แต่ผลสรุปทางวิทยาศาสตร์ จะสามารถนำไปทดลองซ้ำๆ ก็จะได้ผลเช่นนั้นทุกครั้ง แต่ผลสรุปทางประวัติศาสตร์ไม่สามารถนำไปทดลองได้ และมีความแตกต่างที่เป็น มิติของเวลา เช่นเดียวกับศาสตร์ทางสังคมศาสตร์อื่นๆ ที่ไม่สามารถควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวแปรได้ทั้งหมด

4. ประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ไม่สามารถนิยามคำเฉพาะ เพราะความหมายจะไม่ชัดเจนตายตัวในทุกกาลและเทศะ เช่น ประชาธิปไตยของท้องถิ่นหนึ่ง กับอีกท้องถิ่นหนึ่งจะมีนัยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผู้ใช้หรือผู้นิยาม ซึ่งแตกต่างกับวิทยาศาสตร์ที่สามารถให้นิยามคำเฉพาะที่มีความหมายตายตัวไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา และสถานที่

คุณค่าของวิธีการทางประวัติศาสตร์

คุณค่าของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ได้แก่

1. วิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นวิธีการวิจัยเอกสารและหลักฐานอื่นๆ ที่เป็นร่องรอยจากอดีตอย่างกว้างขวาง เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ใหม่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมาอย่างเป็นระบบ และมีเหตุมีผล

2. ขั้นตอนการวิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์หรือการตรวจสอบความจริงจากข้อมูลและหลักฐาน ซึ่งเป็นขั้นตอนของการค้นหาความหมายที่ซุกซ่อนอยู่ในหลักฐานจะทำให้ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ระมัดระวัง และคิดพิจารณาข้อเท็จ และข้อจริงที่แฝงอยู่ในหลักฐานให้ชัดเจน

3. วิธีการทางประวัติศาสตร์เน้นการเข้าใจอดีต คือ การให้ผู้ศึกษาเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ต้องทำความเข้าใจยุคสมัยที่ตนศึกษา เพื่อให้เข้าถึงความคิดของผู้คนในยุคนั้น โดยไม่นำความคิดของปัจจุบันไปตัดสินอดีต

อย่างไรก็ตาม เมื่อประวัติศาสตร์คือการสืบค้นอดีตของสังคมมนุษย์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ซึ่ง เป็นวิธีการในการสืบสวนและค้นคว้า จึงนับเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบหนึ่งที่มีเหตุผลประกอบผลสรุปนั่นเอง


1. กำหนดเรื่องที่จะศึกษา



เป็นขั้นตอนแรกของวิธีการศึกษาหาความรู้ โดยตั้งประเด็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษา



ตัวอย่าง ประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับภูมิภาคอาจเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว และขยายขอบเขต
การศึกษาออกไปเป็นระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับภูมิภาค เช่น

ประวัติวัดสำคัญในชุมชน / อำเภอ / จังหวัด / ภูมิภาค

สถานที่สำคัญในท้องถิ่น / จังหวัด / ภูมิภาค

บุคคลสำคัญในท้องถิ่น / จังหวัด / ภูมิภาค


.. .. .... .. ..

2. ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล



เมื่อมีประเด็นที่จะศึกษาแล้ว ขั้นต่อมาคือ การค้นคว้าและรวบรวมหลักฐานข้อมูล
ทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและหลักฐานที่ไม่เป็น
ลายลักษณ์อักษร


หลักฐานชั้นต้น



ลักษณะ เป็นหลักฐานและข้อมูลที่เป็นของร่วมสมัยหรือเกี่ยวข้อง
กับเหตุการณ์โดยตรง




ตัวอย่างได้แก่ ข้อมูลจากการสอบถามผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์
บันทึกของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์

ภาพถ่าย วีดิโอเทป สิ่งของเครื่องใช้ สิ่งก่อสร้าง เป็นต้น

หลักฐานชั้นรอง



ลักษณะ เป็นหลักฐานและข้อมูลที่เขียนหรือรวบรวมไว้ภายห
ลังเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น
โดยใช้ข้อมูลจากหลักฐานชั้นต้น



ตัวอย่างได้แก่ บทความทางวิชาการ หนังสือต่าง ๆ







หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร



ลักษณะ เป็นหลักฐานข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือ

ตัวอย่างได้แก่ จารึก พงศาวดาร จดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์
จดหมาย บันทึก

เอกสารทางราชการ เป็นต้น

........ ........

.. .... ..หนังสือพิมพ์........


หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร



ลักษณะ เป็นหลักฐานข้อมูลที่ไม่่เป็นตัวหนังสือ

ตัวอย่างได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้ของคนในสมัยต่าง ๆ
วัด เจดีย์ อนุสาวรีย์ เครื่องประดับ

อาคารบ้านเรือน เครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
....... .... .....
.... .... พระบรมราชานุสาวรีย์พระสุริโยทัย...........พระปรางค์สามยอด จ.ลพบุรี
............ .....จ.พระนครศรีอยุธยา

3. ตรวจสอบหลักฐาน



ขั้นตอนนี้คือ การตรวจสอบข้อมูลหลักฐานที่เรารวบรวมมาว่ามีความถูกต้อง
น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด



วิธีการตรวจสอบหลักฐาน ได้แก่ เปรียบเทียบจากข้อมูลหลาย ๆ
ฉบับว่า
เหมือนหรือ
ต่างกันอย่างไร พิจารณาจากหลักฐานที่มีอยู่หรือว่าหลักฐานดังกล่าวผ่าน
การตรวจสอบความถูกต้อง

จากผู้เชี่ยวชาญมาแล้ว


4. การเลือกและจัดลำดับข้อมูล



เมื่อรวบรวมและตรวจสอบความถูกต้องความน่าเชื่อถือแล้ว นักเรียนต้องนำข้อมูลมาแยกประเภท
โดยเรียงเหตุการณ์ตามลำดับเวลาก่อนหลัง จัดเหตุการณ์เรื่องเดียวกันหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ด้วยกัน
เพื่อความสะดวกในการเรียบเรียงและนำเสนอข้อมูล

.. .... ..... ... .... .... ..




5. การนำเสนอ



เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยผู้ศึกษาต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบ
และเลือกสรรแล้ว มาเรียบเรียงเพื่อตอบคำถามหรืออธิบายข้อสงสัยตามประเด็นที่ต้องการศึกษา
โดยใช้หลักฐานข้อมูลต่าง ๆ มาอ้างอิงอย่างเป็นเหตุเป็นผล

การนำเสนอมีหลายวิธี เช่น การเขียนเรียงความ รายงาน จัดนิทรรศการ เป็นต้น


..................

................ .. ................การเขียนเรียงความ..... ..........................รายงาน.............

..................

การจัดนิทรรศการ