วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การนับศักราชและการแบงยุคสมั ยทางประวัติศาสตรสากลและไทย



การนับศักราชแบบไทยและสากล


การนับศักราชแบบไทย
มีดังนี้
๑.มหาศักราช(ม.ศ.)

มหาศักราชเกิดขึ้นในประเทศอินเดียภายหลังพุทธศักราช ๖๒๑ ปีแพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทยผ่านทางพวกพราหมณ์เป็นผู้นำเข้ามาพร้อมกับตำรา โหราศาสตร์ ในประเทศไทยใช้มหาศักราชก่อนศักราชอื่นๆ ตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัยจนถึงสมัยอยุธยาตอนกลางพบหลักฐานที่ใช้มากในศิลา จารึกสมัยสุโขทัย


๒.พุทธศักราช(พ.ศ.)

พุทธศักราชเกิดขึ้นในประเทศอินเดียและแพร่หลายในประเทศที่ตนนับถือพุทธศาสนา เป็นหลัก การนับพุทธศักราชเริ่มตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแต่มี วิธีการนับแตกต่างกันในไทยยึดหลักการนับ พ.ศ.๑ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ๑ ปี ไทยใช้พุทธศักราชมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยอยุธยาบางรัชกาลใช้พุทธศักราชร่วมกับศักราชอื่นและใช้แพร่หลายในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปีพ.ศ.๒๔๕๕ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


๓.จุลศักราช(จ.ศ.)
จุลศักราชเกิดขึ้นในประเทศพม่าภายหลังพุทธศักราช ๑๑๘๑ ปีแพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทย
และเริ่มใช้จุลศักราชมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและต่อมาใช้อย่างแพร่หลายในสมัยอยุธยาตอนปลายและต่อเนื่องมาจนถึง
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พบหลักฐานที่ใช้จุลศักราช เช่น พงศาวดารกรุงศรี อยุธยา กฎหมายตราสามดวง เป็นต้น ปัจจุบันยังใช้จุลศักราชในเอกสารบางประเภท เช่น ตำราโหราศาสตร์

๔.รัตนโกสินทร์ศก(ร.ศ.)

รัตนโกสินทร์ศกเป็นการนับศักราชที่ใช้เฉพาะประเทศไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๒ โดยเริ่มนับร.ศ.๑เมื่อปีพ.ศ.๒๓๒๕ ซึ่งเป็นปีที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ไทยเริ่มใช้การนับแบบร.ศ. ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระ มงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเปลี่ยนไปใช้การนับพุทธศักราชจนถึงปัจจุบัน หลักฐานที่ใช้รัตนโกสินทร์ศก เช่น พระราชหัตเลขารัชกาลที่ ๕ และจดหมายพระราชกรณียกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


การนับศักราชแบบสากล มีดังนี้
ศักราชที่ใช้กันแพร่หลายเป็นสากลในปัจจุบัน คือ คริสต์ศักราช(ค.ศ.) นอกจากนี้ยังมีฮิจเราะห์ศักราช(ฮ.ศ.) ซึ่งมีนับถืออิสลามทั่วโลกใช้

๑.คริสต์ศักราช (ค.ศ.)
เริ่มนับศักราชที่ ๑ โดยนับเมื่อพระเยชูศาสนาของศาสนาคริสต์ประสูติหลังพุทธศักราช ๕๔๓ ปีเป็นศักราชที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลกอันเนื่องมาจากประเทศมหาอำนาจ เช่น อังกฤษ และฝรั่งเศสใช้คริสต์ศักราชเมื่อเข้าไปจับจองอาณานิคมจึงนำคริสต์ศักราชเข้า ไปดินแดนนั้นด้วยหลักฐานที่ปรากฏ เช่น หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษ แล ประเทศสยาม คริสต์ศักราช ๑๘๒๖ และหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอเมริกา แล ประเทศสยาม คริสต์ศักราช ๑๘๓๓ เป็นต้น


๒.ฮิจเราะห์ศักราช(ฮ.ศ.)

เป็นการนับศักราชที่ประเทศส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เริ่มนับฮิจเราะห์ศักราชที่ ๑ในปีที่ท่านนบีมูฮำมัดพร้อมกับสาวกอพยพจากเมืองเมกกะไปอยู่ที่เมืองเมดินะ ฮิจเราะห์ศักราช มีเคาะลีฟฮ์ โอมาร์ หรือกาหลิบ โอมาร์ เป็นผู้ก่อตั้ง ชาวมุสลิมทั่วโลกใช้ฮิจเราะห์ศักราชในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของตน

การเปรียบเทียบศักราช

ม.ศ.+621=พ.ศ.

พ.ศ.-621=ม.ศ.

จ.ศ.+1181=พ.ศ.

พ.ศ.-1181=จ.ศ.

ร.ศ.+2325=พ.ศ.

พ.ศ.-2325=ร.ศ.

ค.ศ.+543=พ.ศ.

พ.ศ.-543=ค.ศ.

ฮ.ศ.+621=ค.ศ

ค.ศ.-621=ฮ.ศ.

ฮ.ศ.+1164=พ.ศ.

พ.ศ.-1164=ฮ.ศ


การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์


1. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล

- แบ่งต่ามความเจริญทางอารยธรรมของมนุษย์

- แบ่งตามการเริ่มต้นของเหตุการณ์สำคัญ

- แบ่งตามชื่อจักรวรรดิ หรืออาณาจักรที่สำคัญที่เคยรุ่งเรือง

- แบ่งตามราชวงศ์ที่ปกครองประเทศ

- แบ่งตามการตั้งเมืองหลวง


ตารางการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล

สมัยก่อนประวัติศาสตร์

สมัยประวัติศาสตร์

สมัยโบราณ

สมัยกลาง

สมัยใหม่

สมัยปัจจุบันหรือร่วมสมัย

ยุคหินเก่า มนุษย์ใช้เครื่องมือทำด้วยหินหยาบ ๆ อาศัยอยู่ในถ้ำ ล่าสัตว์

เริ่มประมาณ ๓,๕๐๐ ปีก่อน ค.ศ.เมื่อมนุษย์ประดิษฐ์อักษรถึง ค.ศ. ๔๗๖ เมื่อจักรวรรดิโรมันสิ้นสุด เพราะการรุกรานของพวกอนารยชนเยอรมัน

เริ่ม ค.ศ. ๔๗๖ หลังสิ้นสุดจัรวรรดิโรมัน จนถึง ค.ศ.๑๔๙๒ เมื่อคริสโตเฟอร์ดโคลัมมบัส ค้นพบทวีปอเมริกา

เริ่มจาก ค.ศ. ๑๔๙๒ เมื่อยุโรปขยายอำนาจและอิทธิพลไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลก ทำให้มีผลต่อความเจริญของโลกมัยใหม่ จนถึง ค.ศ.๑๙๔๕ เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒

เริ่มจาก ค.ศ.๑๙๔๕ จนถึงเหตุการณ์และความเจริญปัจจุบัน มีผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน

ยุคหินใหม่ มนุษย์ใช้เครื่องมือหินที่มีการขูดแต่ง ตั้งถิ่นฐานเพราะปลูก เลี้ยงสัตว์

ยุคโลหะ มนุษย์ใช้เครื่องมือที่ทำด้วยโลหะ เช่น สำริด เหล็ก อยู่เป็นชุมชน






ยุคหินเก่า

เครื่องมือหินกะเทาะแบบอาชลีน (Acheulean)


เครื่องมือหินกะเทาะ แบบมูส์เตเรียน (Mousterian )



ขัดเครื่องมือให้เรียบและคม ใช้ประโยชน์ได้หลายด้านมากขึ้น




ยุคหินใหม่
ตัวอย่างเครื่องมือหินขัด และเครื่องปั้นดินเผา

ขวานหินขัดก่อนใส่ด้าม ขวานหินขัด พร้อมด้ามไม้

เครื่องปั้นดินเผายุคหินใหม่ พบในประเทศจีน

2. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย
ส่วนใหญ่ยึดถือหลักเกณฑ์ของประวัติศาสตร์สากล แบ่งเป็น สมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย และสมัยประวัติศาสตร์ไทย

สมัยประวัติศาสตร์ไทยแบ่งตาม

- สมัยโบราณหรือสมัยก่อนสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๑๘๐ ถึง พ.ศ. ๑๗๙๒

- สมัยสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๗๙๒ ถึง ๒๐๐๖

- สมัยอยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๙๓ ถึง ๒๓๑๐

- สมัยธนบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๐ ถึง ๒๓๒๕

- สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ ถึง ปัจจุบัน


การเทียบสมัยประวัตอศาสตร์สากลและไทย


ประวัติศาสตร์สากล

ประวัติศาสตร์ไทย

สมัยโบราณ

- อารยธรรมเมโสโปเตเมีย

- อารยธรรมอียิปต์

- อารยธรรมกรีก

- อารยธรรมโรมัน

สิ้นสุดสมัยโบราณ เมื่อ ค.ศ. ๔๗๖(พ.ศ.๑๐๑๙)

สมัยโบราณหรือสมัยก่อนสุโขทัย

- อาณาจักรลังกาสุกะ

- อาณาจักรทวารวดี

- อาณาจักรโยนกเชียงแสน

- อาณาจักรตามพรลิงค์

สมัยกลาง

- จักรวรรดิโรมันตะวันออกสิ้นสุด ค.ศ.๑๔๕๓

- การสร้างอาณาจักรคริสเตียน

- การปกครองในระบบฟิวดัล

- การฟื้นฟูเมืองและการค้า

- การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ

- การค้นพบทวีปอเมริกา

สมัยสุโขทัย

สมัยอยุธยา

สมัยใหม่

- การสำรวจทางทะเล

- การปฏิวัติวิทยาศาสตร์

- การปฏิวัติอุตสาหกรรม

- การปฏิวัติฝรั่งเศส

- สงครามโลกครั้งที่ 1-2

- สิ้นสุดสมัยใหม่ ค.ศ.1945

สมัยธนบุรี
สมัยรัตนโกสินทร์

สมัยปัจจุบัน- ร่วมสมัย ปัจจุบัน

- ยุคสงครามเย็น

- ยุคเทคโนโลยีการสื่อสาร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (๒๔๘๙ - ปัจจุบัน)


แบบทดสอบหลังเรียน
http://quickr.me/hVIcWjq

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น