วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โครงงานทางประวัติศาสตร์


โครงงานทางประวัติศาสตร์

เรื่อง กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์


จัดทำโดย


1.นางสาวเบญญาภา กิ้มเส้ง เลขที่ 20 ชั้น ม.5/8

2.นางสาวสุธิชา ราชพงศ์ เลขที่ 24 ชั้น ม.5/8

3.นางสาวสุภาภรณ์ มิตรเกษม เลขที่ 25 ชั้น ม.5/8

4.นางสาวณัฐธิดา เพ็ชร์วงศ์ เลขที่ 32 ชั้น ม .5/8
5.นางสาววิภาวรรณ สุดจันทร์ เลขที่ 35 ชั้น ม. 5/8

เสนอ


อาจารย์การุณย์ สุวรรณรักษา

_______________________________________________________________________

กรมหลวงชุมพร


ที่มา

แหลมสนอ่อน ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา

แหลมสนอ่อน อยู่บริเวณแหลมสมิหลา ร่มรื่นไปด้วยทิวสนทะเล บริเวณปลายแหลมเป็นที่ประดิษฐานอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ซึ่งก่อตั้งโดยกลุ่มไทยอาสาป้องกันชาติในทะเล จังหวัดสงขลา ได้แก่ ผู้ประกอบอาชีพอันเกี่ยวเนื่องกับการปกครอง ร่วมกับกองทัพเรือ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2530 เพื่อให้ชาวเรือได้สักการะบูชาก่อนออกไปประกอบอาชีพในทะเล บริเวณแหลมสนอ่อนมีประติมากรรมพญานาคพ่นน้ำ ซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ประติมากรรมพญานาคนี้แบ่งออกเป็นสามส่วนตั้งอยู่สถานที่ต่างกัน ส่วนหัวอยู่ที่แหลมสนอ่อน ส่วนลำตัวหรือสะดือพญานาคอยู่ที่แหลมสมิหลา ส่วนหางอยู่ที่ถนนชลาทัศน์-หาดสมิหลา จากแหลมสนอ่อนสามารถชมทัศนียภาพอันสวยงามของทะเลสาบสงขลา และมองเห็นเกาะหนูได้ใกล้และชัดที่สุด รอบ ๆ บริเวณมีที่นั่งพักผ่อนยามเย็นสำหรับประชาชน


วัตถุประสงค์

1 เพื่อให้ทราบถึงประวัติของอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์

2 เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่บุคคลทั่วไป

3 เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา


1 การกำหนดหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา : ศึกษาเกี่ยวกับอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพร ว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ใครเป็นคนสร้าง และสร้างขึ้นเพื่อสาเหตุใด

2 ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล : อนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ก่อตั้งโดยกลุ่มไทยอาสาป้องกันชาติในทะเลได้แก่ ผู้ประกอบการเกี่ยวกับการปกครองร่วมกับกองทัพเรือสร้างเมื่อปีพ.ศ.2530 เพื่อให้ชาวเรือสักการบูชาก่อนออกไปประกอบอาชีพในทะเล

3 การตรวจสอบและประมวลหลักฐาน :

3.1 การตรวจสอบ

- อายุ 23 ปี

- ผู้สร้างโดยกลุ่มไทยอาสาเพื่อป้องกันชาติในทะเล

- จุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวเรือได้สักการบูชาก่อนออกไปประกอบอาชีพในทะเล

3.2 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน : ข้อมูลน่าเชื่อถือเพราะมีการพิจารณามา 23 ปีแล้ว และที่สำคัญเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญที่ชาวจังหวัดสงขลาเคารพบูชา

4 การตีความหลักฐา: เพื่อให้ชาวเรือได้สักการบูชาก่อนไปประกอบอาชีพทะเล และปัจจุบันประชาชนทุกคนสามารถมากราบไหว้ ขอพรจากอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรได้ทุกเพศ ทุกวัย ไม่จำกัดอาชีพ

วิธีการดำเนินงาน

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย: กำหนดหัวข้อเรื่องซึ่งศึกษาเกี่ยวกับกรมหลวงชุมพร

ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล: รวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจ ถ่ายรูป และจดบันทึกข้อมูลที่ได้ศึกษาจากสถานที่จริงและหาข้อมูลเพิ่มเติมในอินเทอร์เน็ต

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน: ตรวจสอบข้อมูลที่หาได้จากอินเทอร์เน็ตและข้อมูลที่ได้จากการจดบันทึกว่าถูกต้องหรือไม่

ขั้นตอนที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลและตีความข้อมูล: เมื่อ หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกรมหลวงชุมพรแล้วจึงนำมาวิเคราะห์ เพื่อเลือกว่าจะนำเสนอส่วนใดบ้างและเพิ่มเติมเนื้อหาส่วนที่ขาดไป

ขั้นตอนที่ 5 นำเสนอผลงาน

ผลการศึกษาข้อมูล

จากการศึกษาในครั้งนี้ทำให้ทราบถึง

1.ได้นำขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ในการศึกษาการทำโครงงานเรื่องนี้

2.ทราบประวัติความเป็นมาของกรมหลวงชุมพรทั่วไป

3.นำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาได้จริง

4.ทราบถึงเวลาการสร้างกรมหลวงชุมพรว่านานกี่ปีแล้ว

ประโยชน์จากการทำโครงงาน

1 ทราบถึงประวัติความเป็นมาของอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์

2 ฝึกความสามัคคีภายในกลุ่ม

3 รู้จักแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆระหว่างที่ทำงาน

4 ฝึกการมีมิตรกับบุคคลทั่วไป


ข้อมูล


ประวัติ กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าลูกยาเธอใน พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ราชสกุลวงศ์เป็น พระองค์ที่ 28 ทรงพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอาภากร เกียรติวงศ์ประสูติใน พระบรมมหาราชวัง เมื่อเดือนอ้ายปีมะโรง วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พุทธศักราช 2423 เป็นพระลูกเจ้ายาเธอพระองค์ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดา โหมด ธิดาเจ้าพระยา สุรวงษ์ ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงมีพระกนิษฐาและพระอนุชา อีก 2 พระองค์ คือพระองค์เจ้าหญิง อรองค์ อรรคยุพา ซึ่งสิ้นพระชมน์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์และ พระองค์เจ้าสุริยง ประยุรพันธ์ ดำรงพระอิสริยยศเป็น กรมหมื่นไชยา ศรีสุริโยภาส แล้วจึงสิ้นพระชมน์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวง ชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงได้รับการศึกษาขั้นแรกในพระบรมมหาราชวังมีพระยา อิศพันธ์โสภณ (พูน อิศรางกูร) เป็นพระอาจารย์ทรงศึกษาภาษาอังกฤษกับ นายโมแรนท์ ชาวอังกฤษและได้เป็นนักเรียนในโรงเรียน พระตำหนัก สวนกุหลาบ ทรงศึกษาอยู่จนครั้นเมื่อ ปีมะเส็งพุทธศักราช 2436 พระชนม์มายุย่าง 13 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษพร้อมกับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นยศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้าชาย มหาวชิราวุธ และได้เสด็จประทับศึกษาวิชาการเบื้องต้นร่วมกันจนถึงสมัยเมื่อจะทรงศึกษาวิชาการเฉพาะ พระองค์เสด็จในกรมฯจึงได้ทรงแยกไปศึกษาวิชาการทหารเรือนับเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์แรกของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงศึกษาวิชาการทหารเรือในต่างประเทศ.
ระหว่างที่ทรงศึกษาวิชาการทหารเรืออยู่ที่ ประเทศอังกฤษ นั้นได้ทรงแสดงความสามารถในการเดินเรือ คือขณะเมื่อเป็น นักเรียนนายเรืออยู่นั้นประจวบกับเวลาที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรกในพ.ศ. 2440 เสด็จในกรมฯทรงขออนุญาตออกมารับเสด็จ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวโดยได้ทรงเข้าร่วมกระบวนเสด็จของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยทรงเข้าร่วมกระบวนเสด็จที่ เกาะลังกา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้รับราชการตำแหน่งนักเรียนนายเรือ ในเรือพระที่นั่งมหาจักรี ภายในการบังคับบัญชาของกัปตันเรือพระที่นั่งและได้ทรงถือท้ายเรือพระที่นั่งมหาจักรีด้วยพระองค์เอง แสดงความสามารถให้ปรากฎแก่พระเนตรเสด็จในกรมฯได้เสด็จติดตาม พระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถ ไปในเรือพระที่นั่งจนถึงประเทศอังกฤษแล้วจึงโปรดเกล้าฯให้ทรงศึกษาวิชาการทหารเรือต่อไปทรงศึกษาในหลักสูตรชั้นสูงของโรงเรียนนายเรืออังกฤษนับเวลาที่ได้ศึกษาอยู่ในราชนาวีอังกฤษ 6 ปีเศษจึงได้เสด็จกลับประเทศไทยโดยทางเรือ ได้เสด็จลง เรือเมล์เยอรมันที่เมือง เยนัว วันที่10 พฤษภาคม 2443 เสด็จพักแรมที่สิงค์โปร์หนึ่งคืนแล้วจึงเสด็จออกสิงคโปร์โดยเรือเมล์เช่นเดียวกันถึง ปากน้ำเจ้าพระยาจังหวัดสมุทรปราการเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา ออกไปคอยรับเสด็จที่สมุทรปราการแล้วประทับรถไฟสายปากน้ำจากสมุทรปราการเข้ามายังพระนคร...




ภาคผนวก
















3 ความคิดเห็น: